ต่อเนตให้น้องติ๊กโดย Default Config

วิธีการเซต Mikrotik ให้ออกเนตได้ แนะนำ 2 วิธี


วิธีที่1 ต่อแบบStatic โดยให้ Mikrotik รับอินเตอร์เน็ตแล้วแจกไอพีอีกต่อ
ข้อดีของวิธีนี้ คือง่ายสะดวก ใช้กับ ADSL Router/Cable/TOT Winet
ข้อเสีย ทำให้กินทรัพยากร Router มากส่งผลให้แฮ้งได้ง่ายกว่าแบบ PPPoE

วิธีแรกทำง่าย คือ ต่อสาย LAN ที่มาจาก Modem เข้าช่อง LAN1 ของ Mikrotik
และต่อออกจากช่อง LAN 2-5 ช่องใดก็ได้ เพราะค่า Default Config ของ interface 2-5 เซตมาให้เป็น Swicth กันอยู่แล้วครับ

วิธีที่2 ต่อแบบPPPOE Client 
ข้อดี ใช้กับ  ADSL Router ที่เป็น Bridge Mode/ Fiber Optic FTTH



อุปกรณ์ที่ผมใช้ตั้งค่าเป็นตัวอย่างใช้รุ่น RB750GL ซึ่งเป็นรุ่นพื้นฐาน

วิธีการ

1.winbox download ได้จากเว็บ mikrotik
2.เลือกคอนเนตที่ MAC Address ของ Mikrotik



เดิมๆจะมีค่า 
Default Config ของเร้าเตอร์เองแนะนำให้ใช้ค่าเดิมครับ ไม่ต้องยุ่งอะไรมาก กด OK ไปเลย



3.ไปที่เมนู PPP>>> Interface กด+ PPPoE Client



จะมีแท็บ New Interface เลือก Interface เป็น ether1-gateway



แท็บ Dial Out User=user ที่คอนเนตอินเตอร์เนต และใส่ password ติ๊กเครื่องหมายถูก Use Peer DNS และ OK



ถ้าเชื่อมต่อได้แล้วจะมีสถานะ Connected ที่มุมล่างขวา



4.ไปที่ IP>>>Firewall>>>NAT ที่แท็บ General
หา masquerade (ปกติจะมีแค่อันเดียว)เปลี่ยน Out.Interface pppoe-out1



IP>>>DHCP Client ***Remove 



แค่นี้ก็สามารถใช้งาน ออก Internet ได้แล้วครับ

ตั้งเวลา Mikrotik เพื่อเวลาที่ทำ Hotspot จะได้ยืนยันเวลาได้ตรง
ไปที่ Terminal copy code ข้างล่าง

/system ntp client set enabled=yes mode=unicast primary-ntp=158.108.212.149 secondary-ntp=202.28.18.72
/system clock set time-zone-name=Asia/Bangkok



สำหรับมือใหม่ที่เริ่มต้นคอนฟิก Mikrotik
ควรที่จะ backup ค่าคอนฟิกไว้ ผิดพลาดจะได้ไม่ต้องเริ่มต้นใหม่โดยไปที่ Files และกดเลือก Backup
เวลา Restore ก็กดเลือกที่ไฟล์และกด Restore ด้านบน



หรืออีกวิธีนึงก็ใช้ Terminal (ข้อดี คือสามารถเปิดดูค่าคอนฟิก หรือดัดแปลงไปใช้กับเครื่องอื่นได้)

การ Backup ค่า config
เข้าเมนู Terminal แล้วพิมพ์คำสั่ง > system backup save name=14082012 (ชื่อไฟล์ ผมตั้งให้เป็นวันที่เขียนบทความ) แล้วกด Enter

Restore
เข้าเมนู Terminal พิมพ์คำสั่ง > system backup load name=14082012 ชื่อไฟล์.backup
พิมพ์ Y เพื่อยืนยันการ Restore ข้อมูล
เมื่อ MikroTik restore เสร็จ จะทำการ Reboot 1ครั้ง



Backup Source (เพื่อเก็บไว้ดูคำสั่งทั้งหมดผ่าน Terminal)
เข้าเมนู Terminal แล้วพิมพ์คำสั่ง > export file=14082012 ชื่อไฟล์ที่ต้องการ export แล้วกด Enter

 

เข้าไปดูได้ที่เมนู File > File list ก็จะมีชื่อไฟล์ที่เราบันทึกขึ้นมา (นามสกุล .rsc)



เมื่อเอาไปเปิดกับ notepad



วิธีทำให้โชว์ Uptime Memory และ CPU use ครับ
คลิ๊กขวาที่มุมบน



อันนี้คือวิธีเซต PPPoE เพื่อให้ใช้งาน Internet ได้ครับ
บทต่อไปจะเป็นเรื่องการเปลี่ยน IP ให้อยู่ในวงแลนที่เราต้องการ (เผื่ออยากได้ 192.168.1.1 หรือ 10.0.0.1)
และ ddns สำหรับเวลารีโมทเข้ามาตั้งค่าเพิ่มเติมผ่าน Internet

สำหรับวันนี้ สวัสดีครับ