CAPsMAN Controller

เพิ่มเพื่อน

สวัสดีครับ
พอดีมีลูกค้าถามมาเรื่อง controller ของ mikrotik
ผมเลยลองหยิบเอาตัว wireless ของ mikrotik มาลองเล่นดู

ตัว mikrotik มี controller ให้ใช้คือ CAPsMAN
อารมณ์คือประมาณว่ากรณีจะตั้งค่า SSID ของ AP ตั้งค่าตัวเดียว AP ที่มีทั้งหมดจะเป็นค่าเดียวกันเลย
ไม่ต้องไล่ทำทีล่ะตัว

ถ้าเทียบกับ ubnt ก็คือ cloudkey แต่ฝั่ง mikrotik มีให้ใช้ฟรีครับ

Features:

  • - Dual Band AP support
  • - Virtual AP
  • - Radio Provisioning
  • - Full and local data forwarding
  • - WPA/WPA2
  • - RADIUS MAC Authentication
ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://wiki.mikrotik.com/wiki/Manual:CAPsMAN

เอาล่ะมาดูวิธีการคอนฟิก
อุปกรณ์ผมเตรียมไว้ตามนี้คือ
1.RB3011UiAS+RM 1 ตัว
2.RB260GSP(CSS106-1G-4P-1S) 1 ตัว
3.cAP AC 2 ตัว
4.cAP 1 ตัว
5.wAP AC 1 ตัว


เรื่อง firmware หรือ OS  ตรงนี้แนะนำว่าควรอัพเดทให้เป็นล่าสุดเลยครับ

ตัวอย่างการตั้งค่าฝั่ง CAPsMAN Controller
RB3011UiAS-RM ออกเนตได้ปกติแล้ว เริ่มต้นการเซต CAPsMAN กัน

1.ตั้งค่าเมนู CAPsMAN

  • หัวข้อ Configurations กดปุ่ม Add แล้วทำการตั้งค่าดังรูป
  • แทบ Wireless
  • Name : cfg1
  • SSID : ชื่อ SSID ที่ต้องการ
  • Country : Thailand



2.ตั้งค่าเพิ่มเติมจากด้านบน

  • หัวข้อ Datapath ทำการตั้งค่าดังรูป
  • Bridge : bridge(ตรงนี้หากตั้งค่า hotspot หรือ local จาก interface ไหนให้เลือกตามนั้นครับ)

3.ต่อจากด้านบน กำหนด security หากต้องการ (ถ้าทำ hotspot ก็ปล่อยผ่านได้ครับ)

  • หัวข้อ Security แล้วทำการตั้งค่าดังรูป
  • Authentication Type : ทำเครื่องหมายถูกที่ช่อง WPA PSK, WPA2 PSK
  • Passphrase : รหัสผ่านสำหรับเชื่อมต่อ

4.ต่อจากด้านบน กำหนด Provisioning

  • หัวข้อ Provisioning กดปุ่ม Add แล้วทำการตั้งค่าดังรูป
  • Action : create dynamic enabled
  • Master Configuration : cfg1

5.ต่อจากด้านบน เปิดใช้งาน CAPs Manager

  • หัวข้อ CAP Interface กดปุ่ม Manager แล้วตั้งค่าดังรูป
  • กดปุ่ม Interfaces แล้วตั้งค่า
  • กดปุ่ม Add แล้วทำการตั้งค่าดังรูป
  • Interface : bridge

6.ตั้งค่าเพิ่มเติมจากด้านบน

  • Interface : all ทำเครื่องหมายถูกที่ช่อง Forbid

การตั้งค่า CAPsMAN AP
1.สร้าง Bridge ขึ้นมา

  • หัวข้อ Bridge กดปุ่ม Add แล้วทำการตั้งค่าดังรูป
  • Name : bridge1

2.ต่อจากด้านบน เอา ether1 เข้าเป็นสมาชิกของ bridge1

  • หัวข้อ Port กดปุ่ม Add แล้วทำการตั้งค่าดังรูป
  • Interface : ether1
  • Bridge : bridge1

3.ตั้งค่าเมนู IP -> DHCP Client

  • กดปุ่ม Add แล้วทำการตั้งค่าดังรูป
  • Interface : bridge1

 4.ตั้งค่าเมนู Wireless

  • หัวข้อ Interfaces กดปุ่ม CAP แล้วทำการตั้งค่าดังรูป
  • ทำเครื่องหมายถูกที่ช่อง Enabled
  • Interfaces : wlan1
  • Discovery Interfaces : bridge1
  • Birdge : bridge1


กรณีที่ AP เป็น Dual Band ก็แค่เพิ่ม wlan2 เข้าไป

ถ้าเรียบร้อยแล้ว สถานะ manage by CAPsMAN จะขึ้นมาบน WiFi Interface ครับ
การตั้งค่า wireless จะไปทำในตัว RB3011UiAS-RM แทน



จากที่ผมเทสอยู่ มี AP 4 ตัว Dual Band =3 อีกตัวรองรับแค่ 2.4 GHz
จะเห็น interface 7 ตัวครับ

สามารถดูสถานะการเชื่อมต่อได้ที่เมนู CAPsMAN>>>Registration Table 

เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียระหว่าง UniFi vs CAPsMAN
โดยส่วนตัว UniFi ใช้งานผ่าน APP และ Browser บน PC ได้ค่อนข้างโอเคกว่า
อาจจะเพราะความคุ้นเคยหรือถนัด
mikrotik สามารถใช้ winbox จาก PC หรือ APP mikrotik บน IOS หรือ Android ได้
ถ้าเป็น UniFi ต้องซื้อ cloudkey หรือเปิด PC ที่ลง Controller ไว้จึงจะสามารถใช้งานได้

ข้อเสียอีกอย่างของ CAPsMAN คือ CAPsMAN หลักควรมีสำรองอีก 1 ตัวครับ
ในกรณีที่ไฟดับหรือสถานะไม่เจอในระบบ wifi จะใช้งานไม่ได้เลย ต่างจาก UniFi ที่ไม่มี controller AP ยังสามารถทำงานได้
อันนี้ผมว่าจะเป็นข้อเสียที่ไม่กล้าใช้กันครับ